Category Archives: สถานที่จัดการแสดง

หอศิลป์ริมน่าน หอแสดงงานศิลปะเอกชน

  หอศิลป์ริมน่าน เป็นหอแสดงงานศิลปะของเอกชนขนาดใหญ่บนพื้นที่กว่า 13 ไร่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ทางเข้าติดริมถนนทางหลวง (กม.20) ห่างจากตัวอำเภอเมืองน่านประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นแหล่งรวมศิลปะและวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน ก่อตั้งและดำเนินการโดย วินัย ปราบริปู  ศิลปินชาวน่านชื่อดังที่รักใน ศิลปะ ตัวอาคารไม่ได้ดัดแปลงจากคุ้ม เวียง วัง หรือตึกอื่นๆ แต่อย่างใด แต่เป็นความตั้งใจของเขาที่ต้องการสร้างหอศิลป์ขึ้นในสภาพภูมิประเทศที่เป็นธรรมชาติ เพื่อให้คนที่มาเสพศิลปะนั้นได้ความรู้สึกสบายใจและพักผ่อนไปด้วย ภายในพื้นที่หอศิลป์มีอาคาร 2 หลัง หลังแรกเป็นอาคาร 2 ชั้นขนาดใหญ่ ชั้นล่างจัดแสดงนิทรรศการรองรับภาพไม่ต่ำกว่า 80-100 ภาพ เพราะฉะนั้นนิทรรศการที่มาจัดแสดงบริเวณนี้จึงเป็นนิทรรศการระดับชาติหรือเป็นศิลปินที่ต้องมีภาพจำนวนมากมาจัดแสดง ชั้น 2 จัดแสดงผลงาน และที่พักอาศัยของอ.วินัย ส่วนอีกอาคารหนึ่งแต่เดิมเป็นห้องสตูดิโอเก่าของอ.วินัย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านแวดล้อมร่มรื่นด้วยพรรณไม้นานา … Continue reading

Posted in สถานที่จัดการแสดง, อินเตอร์เน็ต | Tagged , | Comments Off on หอศิลป์ริมน่าน หอแสดงงานศิลปะเอกชน

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยเล่าถึงประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย  เกิดจากแรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์กลุ่มหนึ่งนำโดย อาจารย์ดวงแก้วพิทยากร ศิลป์ ที่สนใจการสร้างหุ่นขี้ผึ้ง และศึกษาค้นคว้าทดลองเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงประสบความสำเร็จ สามารถสร้างหุ่น ขี้ผึ้งยุคใหม่จากไฟเบอร์กลาสที่มีความคงทน ประณีต งดงาม เหมือนคนจริงที่สุด จนคณะผู้ร่วมงานเห็นสมควรที่ จะสนับสนุนให้ก้าวหน้าต่อไป เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติและศิลปินไทย จึงเริ่มโครงการก่อตั้งพิพิธ ภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ไทยในปี พ.ศ. 2525 สำหรับเป็นสถานที่สร้างและจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส เพื่อการ อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีไทย อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชน โดยปัจจุบันมีหุ่นไฟเบอร์กลาสทั้งหมด 120 รูปอาคารพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยนี้เป็นอาคารสองชั้น โดยมีการจัด แสดง ด้วยกันสองชั้นคือ ชั้นล่าง จัดแสดงหุ่นชุดต่างๆ เช่น … Continue reading

Posted in สถานที่จัดการแสดง | Comments Off on พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยเล่าถึงประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูกกับสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่

พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก มักจะเรียกกันติดปากกันว่า พิพิธภัณฑ์นกฮูก แต่เอาจริงๆที่นี่ไม่ได้มีนกฮูกตัวเป็นๆน่ารักน่าชังให้ได้ดูกัน แต่เป็นแหล่งรวมศิลปะของสะสมที่เกี่ยวข้องกับนกฮูกอย่างเดียวเท่านั้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแหล่งรวบรวมของสะสมเกี่ยวกับงานศิลปะและงานออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนกฮูกของรศ.ปรีชา ปั้นกล่ำอาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งมีทั้งของสะสมที่มาจากภายในประเทศไทย ประเทศในเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเช่นนกฮูกวอลอี ซึ่งจัดแสดงออกเป็น 7 ส่วนตามวัสดุที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เริ่มต้นจากส่วนของนกฮูกเครื่องประดับ ที่มีทั้งสร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล ตุ้มหู แหวน เป็นต้น ที่ล้วนแต่ใช้ความน่ารักของนกฮูกมาแต่งเติมสีสันให้สวยงาม กลายเป็นเครื่องประดับที่น่าใส่ประดับติดตัว ถัดมาเป็นโซนนกฮูกเรซิ่นจุดนี้ก็มีเรซิ่นรูปนกฮูกหลายแบบหลายสไตล์ มีทั้งมาเดี่ยว มาคู่และมาเป็นกลุ่ม วางโชว์ไว้อวดความสวยและน่ารัก ถัดมาเป็นนกฮูกเครื่องปั้นดินเผามีทั้งแบบที่เป็นสีดินเผาไม่เคลือบ และแบบที่ตกแต่งสีสันสวนงามและนำไปเคลือบเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีว่าวนกฮูกจากอินโดนีเซีย นกฮูกกระดาษ สัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งของชาวพม่าและครกฮูกหินซึ่งเป็นของสะสมที่หาดูได้ยาก ภายในพิพิธภัณฑ์ยังมีห้องเรียนรู้ศิลปะการออกแบบพร้อมวิทยากรและครูที่มีประสบการณ์ด้านการออกแบบทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อีกทั้งมีOwl Art Museum Shop ซึ่งเป็นร้านขายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและร้านเครื่องดื่มและยังมีการจัดตลาดนัดคนรักนกฮูกทุกวันเสาร์สัปดาห์แรกของเดือนของทุกอย่างที่นำมาจำหน่าย เป็นของที่มีการออกแบบจากนกฮูกเท่านั้น … Continue reading

Posted in สถานที่จัดการแสดง, อินเตอร์เน็ต | Tagged | Comments Off on พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูกกับสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป มีพื้นที่จัดแสดงทั้งนิทรรศการถาวรและนิทรรศการหมุนเวียน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ตั้งอยู่บนถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นอาคารโรงกษาปณ์ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกยุคฟื้นฟูวิทยาการ สำหรับเป็นโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ เมื่อมีการพัฒนาเครื่องจักรที่ใหญ่โตขึ้นในเวลาต่อมา จึงย้ายที่ทำการไป ณ โรงกษาปณ์ ปัจจุบันอาคารแห่งนี้จึงร้างลง ครั้นในวาระครบ 100 ปีการพิพิธภัณฑ์ไทย กรมศิลปากรมีโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานด้านศิลปะสมัยใหม่ จึงได้ขอใช้อาคารโรงกษาปณ์เก่านี้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานศิลปะ ซึ่งกรมธนารักษ์ได้ยินดีมอบอาคารแห่งนี้แก่กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2517 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป มีพื้นที่จัดแสดงทั้งนิทรรศการถาวรและนิทรรศการหมุนเวียน นิทรรศการถาวร อาคารด้านหน้า ชั้นบน (อาคารด้านทิศตะวันตก) จัดแสดงนิทรรศการถาวรศิลปะแบบไทยประเพณี ซึ่งเป็นผลงานศิลปะไทยที่สร้างสรรค์ขึ้นแต่ครั้งอดีตกาล ในรูปแบบต่าง ๆ ถึงพัฒนาการของศิลปะในประเทศไทย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลในแบบไทยประเพณี จนถูกถ่ายทอด ปรับเปลี่ยนเข้าสู่รูปแบบศิลปะร่วมสมัยโดยแบ่งออกเป็น … Continue reading

Posted in สถานที่จัดการแสดง | Tagged | Comments Off on พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป มีพื้นที่จัดแสดงทั้งนิทรรศการถาวรและนิทรรศการหมุนเวียน

การอนุรักษ์ศิลปะการแสดงงิ้วที่มีมายาวนาน

การแสดงงิ้ว เป็นมหรสพอย่างหนึ่งของจีน เล่นเป็นเรื่องเป็นราว มีการขับร้องและเจรจาประกอบท่าทางที่แสดง โดยนำเอาเหตุการณ์ต่างๆในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงแต่งเติม มีการขับร้องและเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางที่แสดง มีแสดงเฉพาะในพระราชวัง เรื่องที่แสดงเป็นเรื่องสั้นๆ โดยงิ้วได้วิวัฒนาการโดยได้มีผู้ดัดแปลงแก้ไขให้ดีขึ้นทุกยุคสมัย ส่วนเรื่องที่แสดงก็เป็นเรื่องในพงศาวดาร เกร็ดพงศาวดาร ประวัติศาสตร์ และนิทาน เช่น ไซฮั่น ตั้งฮั่น ศิลปะของชาวจีนตั้งแต่อดีตกาลนั้น ไม่เน้นการแสดงศิลปะรูปแบบเดียวแต่จะเน้นไปในด้านการผสมผสานศิลปะร่วมกัน เช่น การขับร้องจะต้องมีระบำหรือนาฏลีลาประกอบพร้อมกับการบรรเลงดนตรี การระบำรำฟ้อนต่างๆ มักมีการขับร้องและบรรเลงดนตรีควบคู่กันไป เป็นต้น ซึ่งมีความแตกต่างกับศิลปะตะวันตกเป็นอย่างมาก อุปรากรจีนเป็นศิลปะชั้นสูงที่มีแบบแผนประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นักแสดงต้องผ่านการฝึกฝนตั้งแต่เยาว์วัย ความโดดเด่นของการแสดงงิ้วนอกจากลีลาการร่ายรำ การเคลื่อนไหวของผู้แสดงแล้ว เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายตลอดจนการแต่งหน้าก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งการแต่งกายของตัวละครจะบ่งบอกถึงบทบาทของตัวแสดง ไม่ว่าจะเป็นหมวก เสื้อผ้า เข็มขัด รองเท้า สีสันของเสื้อผ้า เครื่องประดับ ตลอดจนลวดลายที่ปักอยู่บนเสื้อแต่ละตัวสามารถทำให้ผู้ชมรู้ถึงลำดับยศฐาบรรดาศักดิ์ ขุนนางฝ่ายบุ๋น ฝ่ายบู๊ คหบดี … Continue reading

Posted in สถานที่จัดการแสดง | Tagged | Comments Off on การอนุรักษ์ศิลปะการแสดงงิ้วที่มีมายาวนาน

ศิลปะการแสดงโขนที่ได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้

โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทย มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงการเล่นโขนว่าเป็นการเต้นออกท่าทางเข้ากับเสียงซอและเครื่องดนตรีอื่นๆ ผู้เต้นสวมหน้ากากและถืออาวุธ โขนเป็นที่รวมของศิลปะหลายแขนง คือ โขนนำวิธีเล่นและวิธีแต่งตัวบางอย่างมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ โขนนำท่าต่อสู้โลดโผน ท่ารำท่าเต้นมาจากกระบี่กระบอง และโขนนำศิลปะการพากย์การเจรจา หน้าพาทย์เพลงดนตรี การแสดงโขน ผู้แสดงสวมศีรษะคือหัวโขน ปิดหน้าหมด ยกเว้น เทวดา มนุษย์ และมเหสี ธิดาพระยายักษ์  มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้และมีคนพากย์และเจรจาให้ด้วย เรื่องที่ใช้แสดงโขนในปัจจุบันนี้นิยมเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งไทยได้เค้าเรื่องเดิมมาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย มีอยู่หลายตอนที่เรื่องรามเกียรติ์ดำเนินความแตกต่างจากเรื่องรามายณะมาก โดยเหตุที่เรื่องรามเกียรติ์เป็นเรื่องยาว ไม่สามารถแสดงให้จบในวันเดียวได้ บูรพาจารย์ทางด้านการแสดงโขน จึงแบ่งเรื่องราวที่จะแสดงออกเป็นตอนๆ มีศัพท์เรียกโดยเฉพาะว่า “ชุด” การที่เรียกการแสดงโขนแต่ละตอนว่าชุดนั้น เรียกตามแบบหนังใหญ่ คือเขาจัดตัวหนังไว้เป็นชุดๆจะแสดงชุดไหนก็หยิบตัวหนังชุดนั้นมาแสดง โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนง เช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ … Continue reading

Posted in สถานที่จัดการแสดง | Tagged | Comments Off on ศิลปะการแสดงโขนที่ได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้